
ดนตรี พื้นเมืองล้านนา
หรือการบรรเลงเครื่องดนตรีและการขับขานในล้านนานั้นมีบทบาททั้งในการประกอบ
พิธีกรรม ประกอบการแสดง และประกอบในกิจกรรมสันทนาการ
ซึ่งอาจแยกกล่าวได้ดังนี้ ๑. ในการประกอบพิธีกรรม ในแง่พิธีกรรมในล้านนาแล้ว
มีพิธีเพียงสองแนวคือ แนวพุทธกับแนวผี คือ
พิธีกรรมเชิงพุทธศาสนาและพิธีกรรมเกี่ยวกับผี
ซึ่งทั้งสองแนวดังกล่าวดนตรีมีบทบาทเป็นเพียงส่วนประกอบ เช่น
ในงานฉลองรื่นเริงหรือในงานศพซึ่งมีพิธีทางพุทธศาสนานั้น
พบว่าดนตรีเป็นเพียงส่วนที่ช่วยให้งานคึกคักหนักแน่นขึ้น
ซึ่งหากจะไม่มีดนตรีในกิจกรรมนั้นๆ แล้ว
กิจกรรมดังกล่าวก็ยังสามารถดำเนินต่อไปได้ ในกิจกรรมเกี่ยวกับผีนั้น
ในการบูชาผีหรือแก้บนนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องมีดนตรีประกอบก็ได้
แต่ในการฟ้อนผีนั้นที่ต้องมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องก็เพราะมีการฟ้อนรำอัน
เป็นส่วนประกอบในพิธีเลี้ยงผีเท่านั้น ๒. ในการประกอบการแสดง ดนตรีจะมีบทบาทสำคัญต่อการแสดงหลายอย่าง
ที่เป็นทั้งการแสดงเพื่อประกอบในงานประเพณีหรือเพื่อความบันเทิง
ดังจะเห็นได้ว่าการฟ้อนรำหรือการขับซอหรือขับขานนั้น
จะต้องมีดนตรีประกอบเสมอ |
ชุมชนบ้านตุ่นใต้ จึงได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งวงปาดแน (วงปี่พ่ทย์) เพื่ออนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมของชุมชนพื้นเมืองล้านนา ใช้บรรเลงในงานเทศกาลต่าง ๆ ในชุมชน และ ยังรับงานบรรเลงนอกสถานที่อีกด้วย..
|