
ถ้วยรางวัลพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี ชนะเลิศการบริหารจัดการน้ำ อ่างห้วยแม่ตุ่น. คณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(สำนักงาน กปร.)
ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการประกวดผลงานการบริหารจัดการน้ำ
ในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กตามแนวพระราชดำริ เปิดเผยว่า
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กับกรมชลประทาน ได้จัดให้มีการประกวดผลงาน
การบริหารจัดการน้ำในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ตามแนวพระราชดำริ
เนื่องในวโรกาสปีมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84
พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ขึ้น “ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ
ตามลำน้ำสาขาต่างๆ ของแม่น้ำอิงในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงราย
เพื่อบรรเทาอุทกภัยสำหรับพื้นที่เพาะปลูกในเขตลุ่มน้ำอิงและจัดหาน้ำให้ราษฎรหมู่บ้านต่างๆ
ในเขตลุ่มน้ำอิง สามารถมีน้ำทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝน
ฤดูแล้งและมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดปีด้วย” |
ทั้งนี้
มีกลุ่มราษฎรให้ความสนใจและส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
จำนวน 52 ผลงาน และได้ดำเนินการตัดสินเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา
ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ได้แก่
โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยตุ่นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง
จังหวัดพะเยา
อ่างเก็บน้ำห้วยตุ่นนั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจาก เมื่อ วันที่ 27
กุมภาพันธ์ พ.ศ.2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร โครงการฝายทดน้ำแม่ต๊ำและทรงเยี่ยมราษฎร ณ
บริเวณโรงเรียนบ้านต๊ำพระแล ในท้องที่ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทานว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้สนองพระราชดำริด้วยการก่อสร้างเขื่อนดินกั้นลำน้ำห้วยตุ่น
บ้านห้วยหม้อ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
เพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภคของราษฎรบ้านห้วยหม้อ
และใกล้เคียงเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ขนาดสันทำนบดิน ยาว 206 เมตร กว้าง 8
เมตร สูง 18 เมตร มีพื้นที่รับน้ำฝน 10.50 ตารางกิโลเมตร
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างทั้งปี 3,470,000 ลูกบาศก์เมตร มีความจุ
หรือปริมาณน้ำเก็บกักเท่ากับ 585,000 ลูกบาศก์เมตร
สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่รับประโยชน์ จำนวน 2 ตำบล คือ ตำบลบ้านตุ่น
และตำบลบ้านต๊ำ จำนวน 10 หมู่บ้าน 1,500 ครัวเรือน
และส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในช่วงฤดูฝน 3,000 ไร่ ช่วงฤดูแล้ง 500
ไร่ |
อ่างเก็บน้ำห้วยตุ่น มีปริมาณน้ำต้นทุนไหลเข้าอ่างทั้งปี ประมาณ
3,470,000 ลูกบาศก์เมตร ในขณะที่อ่างมีความจุเพียง 585,000 ลูกบาศก์เมตร
จึงต้องบริหารจัดการปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างให้สามารถนำไปใช้ด้านการเกษตรในพื้นที่
3,823 ไร่ และใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคให้ได้อย่างพอเพียงและทั่วถึง มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำในระดับต่างๆ เช่น
กลุ่มผู้ใช้น้ำระดับคูน้ำ/ท่อ กลุ่มผู้ใช้น้ำระดับคลองแยกซอย
และกลุ่มผู้ใช้น้ำระดับคลองซอย พร้อมออกกฎระเบียบข้อบังคับ การแบ่งปันน้ำ
การเปิด-ปิดน้ำ
รวมถึงเกณฑ์การเก็บเงินสมทบเข้ากลุ่มโดยกลุ่มผู้ใช้น้ำเองมีการเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำ
จำนวน ไร่ละ 10 บาท ต่อฤดูกาล ฤดูแล้ง ไร่ละ 20 บาท หรือเก็บเป็นข้าว
ปัจจุบัน กลุ่มมีเงินกองทุน ประมาณ 6,000 บาท ที่สำคัญสิ่งที่เกิดขึ้นมาด้วยจิตสำนึกของราษฎรผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการเอง
คือ มีการสร้างฝายชะลอน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำห้วยตุ่น
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นช่วงๆ
บริเวณป่าต้นน้ำและไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์
รวมทั้งปลูกป่าต้นน้ำเพิ่มเติม เช่น ไผ่เพื่อการอนุรักษ์ และใช้สอยในชุมชน
มีการส่งเสริมให้มีการดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง นำแนวคิดหลักการ 3 ห่วง คือ
ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน เชื่อมโยงเข้ากับวิถีชีวิต
เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมมาปฏิบัติใช้ สำหรับการบริหารจัดการโดยเกษตรกรบ้านดอกบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง
จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ชนะการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ระดับประเทศ ปี 2553 ด้วยการจัดประกวด
โดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาแล้ว
ถือว่ามีความเข้าใจและสามารถน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มาแปรเป็นการปฏิบัติได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยตุ่น อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พร้อมเงินสด จำนวน 100,000 บาท ในโอกาสต่อไป และโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยตุ่น
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ที่ชนะการประกวดในครั้งนี้จะได้ทำหน้าที่เป็นต้นแบบ
ในการบริหารจัดการน้ำให้แก่โครงการอื่นๆ ในโอกาสต่อไปด้วย |