ผู้ใหญ่บ้านบัว หมู่ที่ 4

นายสมศักดิ์  ชำนาญกลิ้ง

ผู้ใหญ่บ้านบัว หมู่ที่4


นายเกษม สองคำชุม
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

นายศตวรรษ  คำสุ
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ชุมชนต้นแบบเศรฐกิจพอเพียง ระดับประเทศ  ถ่วยรางวัลพระราชทาน ของในหลวงรัชกาลที่ 9
“ยึดหลักความพอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป
ไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่นในชุมชน

 

 
  • ความพอประมาณ
    ได้มีการวิเคราะห์ถึงศักยภาพชุมชมและประชาชน อีกทั้งทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนที่ได้นำมาใช้พัฒนาชุมชนและได้มีการทดแทนกลับคืนให้กับชุมชน โดยยึดหลักความพอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป ไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่นในชุมชน
     
  • ความมีเหตุผล
    ร่วมกันศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจสังคมและทรัพยากรของชุมชนด้วยเหตุผลและความรู้ ความเข้าใจ แล้วจึงตัดสินใจนำไปใช้ในการทำแผนพัฒนาชุมชน สมาชิกในชุมชนมีการลงทุนในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันด้วยความมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มีการวางแผนรู้จักแยกแยะปัญหา อุปสรรค ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำเหล่านั้น
     
  • ภูมิคุ้มกัน
    ร่วมกันศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจสังคมและทรัพยากรของชุมชนด้วยเหตุผลและความรู้ ความเข้าใจ แล้วจึงตัดสินใจนำไปใช้ในการทำแผนพัฒนาชุมชน สมาชิกในชุมชนมีการลงทุนในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันด้วยความมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มีการวางแผนรู้จักแยกแยะปัญหา อุปสรรค ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำเหล่านั้น

 

  • ความรู้
    มีการนำหลักวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนประกอบอาชีพ ดำเนินกิจกรรมของชุมชน โดยผู้นำชุมชนเข้าร่วมฝึกอบรมพัฒนาความรู้ต่าง ๆ ที่มีประโยชน์สำหรับการประกอบอาชีพจากหน่วยงานราชการเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้กับสมาชิกทุกคน โดยมีศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งศึกษาดูงานของทุกคนและบุคคลทั่วไป ได้แก่ การทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย และผู้นำในหมู่บ้านรณรงค์ให้ครัวเรือนมีการผลิตและใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เนื่องจากบ้านบัวมีการเลี้ยงสัตว์ (โค) มาก เพื่อลดต้นทุนการผลิตและช่วยในการรักษาคุณภาพดิน ทำให้ลดรายจ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมีได้ปีละ ๕,๐๐๐ บาท
     
  • คุณธรรม
    มีการให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันภายในชุมชน ได้แก่ มีเครือข่ายร่วมมือช่วยเหลือแบ่งปันกัน จัดกิจกรรมเสริมสร้างความอบอุ่นในครอบครัว เช่น กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมแข่งขันกีฬาในหมู่บ้านทุกปี มีการส่งเสริมและพัฒนาวัดหรือศาสนสถานหรือแหล่งเรียนรู้ทางคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้แนวทางการส่งเสริมความรู้คู่คุณธรรม มีอาสาสมัครที่ทำงานช่วยเหลือส่วนรวมด้วยจิตอาสาโดยไม่หวังค่าตอบแทน เช่น กลุ่มสตรี แม่บ้าน กลุ่มอสม. ชรบ. สตบ. อปพร. กลุ่มผู้สูงอายุ ฯลฯ เพื่อให้โครงการนี้เปน็ ตน้ แบบในการขยายผลในการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเป็นรูปธรรม และที่แสดงถึงคุณธรรมชัดเจนก็คือ การงดเหล้างานศพ ซึ่งถือเป็นกฎเคร่งครัดภายในชุมชน
  • ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    ชุมชนได้รับการคัดเลือกจากหน่วยราชการทั้งรับเงินรางวัลและโล่เกียรติยศ ดังนี้ พัฒนากรผู้ประสานตำบลได้คัดเลือกบ้านบัวเป็นหมู่บ้านหลักนักพัฒนา หมู่บ้านพึ่งตนเอง และยังอยู่ภายในการปกครองของกำนันดีเด่นปี ๒๕๕๑ เป็นหมู่บ้านที่ผ่านระบบ มชช. ปี ๒๕๕๑ โดยมีนายบาล บุญก้ำเป็นผู้ใหญ่บ้าน และมีผลงานเด่น คือ บ้านดอกบัว เป็นหมู่บ้านที่ชนะเลิศตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "อยู่เย็น เป็นสุข" และชนะเลิศหมู่บ้านพึ่งตนเอง ระดับจังหวัดพะเยา ในปี ๒๕๕๑ และผู้ใหญ่บ้านได้รับคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านดีเด่นประจำปี ๒๕๕๑ อีกทั้งกลุ่มจักสานเข่ง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศประเภทกลุ่มอาชีพดีเด่นตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "อยู่เย็นเป็นสุข" ประจำปี ๒๕๕๑ และในปี ๒๕๕๒ บ้านบัวเป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับ "มั่งมี ศรีสุข" ตัวอย่างจังหวัดพะเยา

ผลงานในอดีตที่ผ่านมาบ้านบัวเป็นหมู่บ้านต้นแบบดีเด่นชนะเลิศตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็นเป็นสุข ” และหมู่บ้านพึ่งตนเอง ดีเด่นระดับจังหวัดพะเยา ในปี 2551 และนายบาล บุญก้ำ ผู้นำชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม….แหนบทองคำ…ประจำปี 2551 และล่าสุดได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นระดับประเทศ เมื่อปี 2553

 

ชาวบ้านบัวมีอาชีพหลักคือ การทำนา นอกฤดูการทำนา ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านว่างงาน ประกอบกับทางหมู่บ้านมีต้นไผ่รวกที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ และปลูกเพิ่มเติม ในเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่และได้นำเอาต้นไผ่เหล่านั้นมาจักสานเป็นสุ่มไก่ และเข่ง ทำให้มีรายได้มาประมาณ 20 กว่าปีมาแล้ว ต่อมาได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มจักสานเข่งและสุ่มไก่ นับว่าเป็นอาชีพเสริมที่ทำรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดีและมีตลาดรองรับที่แน่นอนและส่งออกจำหน่ายทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด

 

 

ชุมชนบ้านบัว..ชุมชนต้นแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วม ในวิถีวัฒนธรรมไทย

 

 

 

 

บ้านบัวมีบ้านเรือนอยู่จำนวน 215 ครัวเรือน จำนวนประชากร 763 คน ประชาชนส่วนใหญ่ของบ้านบัวมีการประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม เช่น การทำนาทำสวน ปลูกหญ้า เลี้ยงสัตว์ และอาชีพหัตกรรมจักสานไม้ไผ่ โดยมีกลุ่มอาชีพจักสานเข่งไม้ไผ่เป็นอาชีพที่ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้จากอาชีพนี้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

 

 

 

 


 
แหล่งศึกษาดูงานเศรษฐกิจพอเพียง

 

บ้านบัวเป็นแหล่งศึกษาดูงาน จากทั่วประเทศ เพื่อมาเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ตามแนวเศรษฐกิพอเพียง ของในหลวง ร.9

 

“หากทุกหมู่บ้านทำกันตามศักยภาพ และกำลังความสามารถ ตามต้นแบบชุมชนบ้านบัว แห่งนี้……ก็เชื่อมั่นว่า ชุมชนจะมีอยู่ มีกิน และดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคง เมื่อปากท้องดี ปัญหาอื่น ๆ ก็จะลดลง และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมได้”
 
ชุมชนแห่งความพอเพียง

 

ผลิตภัณฑ์ที่เด่นและน่าสนใจของหมู่บ้านนอกจากข้าวอินทรีย์ที่ลือชื่อของหมู่บ้านแล้วผลิตภัณฑ์เข่งและสุ่มไก่จากไม้ไผ่ก็เป็นผลิตภัณฑ์เด่นของหมู่บ้านและเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปเดิมทีเป็นอาชีพเสริมของหมู่บ้านและทำรายได้ให้กับครัวเรือนของบ้านบัวเป็นอย่างดี สามารถนำไปจำหน่ายได้หลายพื้นที่ ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด และปัจจุบันหลายครอบครัวทำกันจนกลายเป็นอาชีพหลักของครอบครัวเลยทีเดียว
ชุมชนบ้านบัว ม.4 ต.บ้านตุ่น

 

บ้านดอกบัว (บ้านบัว) แต่เดิมเป็นป่า มีปู่ติ๊บกับย่าสมนาสองผัวเมีย และมีบ้านปู่อีกคนไม่ทราบชื่อ โดยเริ่มแรกมีบ้านอยู่สองหลังเท่านั้น ปู่ติ๊บกับย่าสมนา เป็นคนบ้านตุ่นกลางประกอบอาชีพทำไร่ทำสวนเลี้ยงสัตว์ เห็นพื้นที่ป่าแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการประกอบอาชีพจึงย้ายเข้ามาอยู่เป็นคนแรก ปู่บัวก็ได้ติดตามมาอยู่ด้วย จนตอนเช้าของวันหนึ่งปู่บัวซึ่งเป็นคนเคี้ยวหมากได้ลงไปเก็บใบพลู อยู่ ๆ ก็มีเสือมาตะครุบและกัดปู่บัวจนตาย ณ ที่นั้น ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า บ้านบัว (ดอกบัว) มาจนทุกวันนี้

 

 

 

ปัจจุบันบ้านดอกบัวมีประชากร ๗๖๓ คน จำนวน ๒๑๕ ครัวเรือน แยกเป็นชาย ๓๗๙ คน หญิง ๓๘๗ คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน ปลูกหญ้า เลี้ยงสัตว์และอาชีพหัตกรรมจักสานเข่งไม้ไผ่เป็นอาชีพที่ทำให้ประชากรในหมู่บ้านมีรายได้มาก มีผลิตภัณฑ์เด่นของหมู่บ้าน ได้แก่ ข้าว หญ้าแพงโกล่า ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่(เข่ง) ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา เป็นต้น

 

 

 

อาชีพหลักของชาวบ้าน คือ การทำนา สำหรับนอกฤดูกาลทำนา ชาวบ้านบัวได้ใช้เวลาว่างประกอบอาชีพเสริมซึ่ง
สอดคล้องกับวิถีชีวิตและทรัพยากรในท้องถิ่นโดยใช้ต้นไผ่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมาทำสุ่มไก่ เข่ง ออกจำหน่าย ต่อมาชาวบ้านนิยมสานเข่ง สุ่มไก่กันมากขึ้น ทำให้ขายได้ไม่มากเท่าที่ควร จึงได้มีแนวคิดในการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มจักสานเข่งขึ้น ซึ่งช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านบัวเป็นอย่างดี มาประมาณ ๒๐ กว่าปีแล้ว โดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน ออกจำหน่ายแพร่หลายทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด
 
ฐานเรียนรู้พลังงานทดแทน

 

ฐานเรียนรู้พลังงานทดแทน…นายเสาร์แก้ว ใจบาลมีชื่อเสียงด้านปราชญ์ชาวบ้านด้านพลังงานทดแทนคิดค้นพลังงานทดแทน ด้วยการสร้างเตาแกลบชีวมวล ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและรักษาสิ่งแวดล้อ¬ม ปัจจุบันผลงานของพ่อเสาร์แก้วได้ขยายผลต่อไปยังชุมชนอื่น ๆ พลังงานทดแทนชีวมวลคือ…สารอินทรีย์ทั่วไปจากธรรมชาติที่จะสะสมพลังงานเก็บไว้ในตัวเองและสามารถนำพลังงานของมันที่เก็บสะสมเอาไว้มาใช้ประโยชน์ในตัวอย่างของสารอินทรีย์ตอนนั้น เช่นเศษยาง เศษไม้ เศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรหรือจากการอุตสาหกรรม เช่น ขี้เลื่อย ฟาง แกลบ ชานอ้อย เป็นต้น ประโยชน์ของการใช้เตาแก๊สชีวมวลแกลบ..คือลดการใช้แก๊ส LPG ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป
 
Section Layout 1

 

 
 
Section Layout